เป็นปรากฏการณ์ที่สวยงามเกิดขึ้นทุกวันในห้องแล็บที่ผมนั่งทำงานอยู่ เป็นแสงที่เกิดแสงอาทิตย์สะท้อนผืนน้ำที่กระเพื่อมจากปลาที่แหวกว่ายแย่งขนมปังไปมาถูกกรองผ่านต้นไม้ใหญ่ที่พริ้วไหวด้วยสายลมเย็นๆของฤดูหนาว มีการหักเหและสะท้อนกลับด้วยกระจกบานเกร็ดขนาดใหญ่รูปทรงดั้งเดิมของตึกอธิการบดีเก่า มจธ. ซึ่งปัจจุบันเป็นตึกของฟีโบ้ และสุดท้ายถูกเสริมความเป็นเส้นสายด้วยลวดกรงเหล็กดัด ช่วยให้ผมผ่อนคลายในช่วงทำงานวิจัยได้เป็นอย่างดี วันนี้ก็เลยเก็บภาพบรรยากาศนี้ไว้เพราะวันหน้าต้นไม้เหล่านี้อาจถูกตัดออกไปก็ได้ บางมดเป็น ตัดต้นไม้และปลูกต้นไม้บ่อยมาก ไม่อยากให้ภาพบรรยากาศดีๆแบบนี้หายไป
เนมินทร์ ไลฟ์สไตล์ ทุกอย่างสนใจ เช่น การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ข่าววงการไอที กิจกรรมยามว่าง ฯลฯ
27 ธันวาคม 2553
21 ธันวาคม 2553
17 ธันวาคม 2553
วิธีติดตั้ง Kinect สำหรับ Windows 7 ด้วย Openkinect for Windows (LIBUSB) Driver Development
ดาวน์โหลด
ในขั้นตอนติดตั้ง Driver แนะนำให้ใช้ V16 เพราะว่า Driver ดีว่า ดาวน์โหลด
ในขั้นตอนรันโปรแกรมทดสอบภาษา C++ แนะนำให้ใช้ V14 เนื่องจากเขียน OpenGl แบบง่ายๆ ดาวน์โหลด
หรือใครลองเวอร์ชั่นใหม่กว่านี้แล้วใช้ได้ดีช่วยบอกผมด้วยนะครับ
เข้าไปเช็คได้ที่ http://ajaxorg.posterous.com/kinect-driver-for-windows-prototype
ติดตั้ง Motor
1. เปิด Device Manager ดับเบิ้ลคลิกที่ Xbox NUI Motor
2. เปิดแท็บ Driver คลิกที่ Update Driver
3. คลิกเลือก Browse my computer for driver software
5. เลือก Folder Kinect-v16-withsource
6. คลิก Install This driver software anyway อนุญาติให้ติดตั้ง Driver
7. วินโดวส์กำลังติดตั้ง Driver ของมอเตอร์ให้
8. ถ้าขึ้นแบบนี้แสดงว่าติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
ติดตั้งกล้อง
1. หลังจากติดตั้งมอเตอร์เสร็จแล้ว จะมี Xbox NUI Camera ขึ้นมา ให้ทำเหมือนกับการติดตั้งมอเตอร์
2. ติดตั้งกล้องสำเร็จแล้ว
ติดตั้งเสียง
1. ติดตั้งเสียง ดับเบิ้ลคลิก Xbox NUI Audio แล้วทำเหมือนกับการติดตั้งมอเตอร์และกล้อง
2.ติดตั้งเสร็จแล้ว
ติดตั้ง Driver สำเร็จแล้ว จะได้หน้าจอดังนี้
ทดสอบ
เปิดไฟล์ใน Kinect-v14-withsource เปิดไฟล์ Kinect.sln
1. เลือกโปรเจค Kinect-Demo เป็นโปรเจคเริ่มต้น คลิกขวาที่ Kinect-Demo เลือก Set as StartUp Project
2. คลิก Debug -> Start Debugging หรือกด F5
3. ถ้ามีวีดีโอขึ้นมา 3 วินโดวส์แบบนี้เป็นอันติดตั้งสำเร็จครับ กรอบแรกทางซ้ายเป็นวัดระยะความลึกหรือ range image เป็นสีแดง เขียว ฟ้า เรียงจากใกล้ไปไกล
อันที่สองทางขวาเป็นกล้อง Webcam ตามปกติครับ แต่ภาพคมและ Refresh เร็วมาก
ภาพล่างสุดเป็นภาพความลึกที่แสดงเป็น 3D แบบเพอร์สเป็กทีฟ มีการทำ Dilation และ Erosion มากก่อนแล้วด้วย
16 ธันวาคม 2553
เล่าเรื่อง Kinect ตัวเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวแบบไร้สัมผัส
Kinect สร้างขึ้นมาสำหรับเครื่องเล่นเกม Xbox360 รวมถึงในอนาคตจะถูกใช้ใน Windows 8 ด้วย
ความเป็นมา
kinect ถูกพัฒนาโดยบริษัท Rare ร่วมกับ Microsoft Game Studios และ range camera ของทางอิสราเอล ที่สร้างภาพ 2D ที่สามารถบอความลึกได้ โดยใช้หลักการของ infrared structured light เหมือนกับที่ใช้ใน Structured-light 3D scanner
ฮาร์ดแวร์
[ภาพจาก Wikipedia]1. กล้อง RGB
2. กล้องแบบความลึก คือจะให้สีแตกต่างกันตามความลึก หรือที่เรียกว่า pseudo image คล้ายๆกับกล้อง infrared ที่มีสีแทนความร้อน
3. สามารถหมุนขึ้นลง Tilt เพื่อติดตามวัตถุได้
4. ไมโครโฟนแบบอาเรย์ คือไมโครโฟนหลายตัวเรียงติดต่อกัน
คุณลักษณะหรือ Feature
1.สามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวของบุคคลได้เต็มตัว 6 คนพร้อมกัน
2.การจดใจใบหน้าแบบ 3D facial recognition
3. การรู้จำเสียง voice recognition สามารถใช้ประยุกต์กับการสั่งการด้วยเสียงได้
4. สามารถทำการบอกแห่งที่มาของเสียงได้ acoustic source localization นอกจากนี้ยังช่วยในการลดสัญญาณเสียงรบกวนด้วย ambient noise suppressio
ทางเทคนิค
1. กล้อง RGB 640 x 480 pixels 8-bit 30 fps
2. กล้อง monochrome depet ออกมาเป็นภาพ 640x480 pixels 11-bit ความลึกระหว่าง 1.2 – 3.5 เมตร กล้องมี FOV แนวตั้ง 43 องศา แนวนอน 57 องศา
3. การปรับหมุน Tilt ได้ 27 องศาทั้งด้าน ขึ้นและลง รวมเป็น 54 องศา
4. ไมโครโฟนอาเรย์ 4 ตัว 16-bit 16 kHz
ดูจากฮาร์แวร์แล้วน่าสนใจมากเลยใช่มั้ยครับ
การนำมาใช้ หรือ การแฮก
ไมโครซอฟท์ได้ออกมาประกาศว่า Kinect ถูกออกแบบมาให้แฮกได้อยู่แล้ว และจะไม่เอาผิดกับคนที่แฮก จึงมีผู้ทำ Driver ออกมาหลายตัว
ครั้งแรกสุดเป็นคุณ Héctor Martín เป็น Driver ของ Linux โดยไม่ได้ ปรับแต่ง Hardware ใดๆเลย เพราะว่าสัญญาณที่ออกมาทาง USB ไม่มีการเข้ารหัสใดๆไว้เลย หลังจากนั้นก็มี Driver ตามออกมาหลายตัว แต่ที่ผมสนใจอยู่ในตอนนี้จะเป็น Driver ที่ใช้ได้บน Windows เป็นหลัก
ตัวอย่างการนำมาใช้งาน
การรู้จำวัตถุ Object Recognition
การตรวจสอบการเคลื่อนที่ของร่างกาย มนุษย์
นำการรู้จำวัตถุมาใช้
การทำรู้จำลักษณะท่าทาง(Gesture Recognition)
12 โปรเจ็คที่ Kinect Hacks .net คิดว่าดีที่สุดในตอนนี้
ไดรว์เวอร์สำหรับ Windows
ต่อมาเป็นการลองของ มาหาไดรว์เวอร์แล้วลองเล่นกันเลยดีกว่า
1. ตัวแรกคลาสสิกที่สุดเป็นตัว opensource ตัวแรก ดาวน์โหลด เป็น Core ล้วนๆครับ ยังไม่ Support เรื่องเสียงในตอนนี้ แต่มีตัวที่เพิ่มอื่นๆนอกเหนือจาก Core ให้โหลดจะได้ง่ายเรื่องการทำ Driver รวมถึงมีโปรเจคเบื้องต้นง่ายๆให้ดูด้วยผมลองใช้แล้วดีทีเดียว ดูรีวิวและวิธีการติดตั้ง
2. เป็นไลบารียอดนิยมเจ้าเดียวกับที่แฮก Eye Toy ของ PlayStation 3
ดาวน์โหลด ตัวนี้เท่าที่อ่าน OpenCV เค้าแนะนำอยู่ครับ แต่ผมโหลดมาไม่ได้ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร ดาวน์โหลด ใครโหลดได้ฝากบอกวิธีหน่อยนะครับ
3. เป็นโมดูลของ PrimeSense ผู้ผลิตชิปใน Kinect เพื่อติดต่อกับไลบารี OpenNi Download ตัวนี้มักใช้กันในยุคก่อนๆที่ Kinect ยังไม่ออกมา ใครเคยลองใช้เป็นยังไงช่วยบอกด้วยนะครับ
ลิงค์อื่นๆที่น่าสนใจ
1. Kinect ทำงานอย่างไร โดยบริษัทผู้อยู่เบื้องหลัง Link>>
2. การใช้ Kinect กับ OpenCV ซึ่งแนะนำไลบารี หลายตัวที่ใช้กับ Kinect รวมถึงการนำเอาความลึก การCalibreate การสร้างสีเทียมแทนความลึก เป็นที่รวมลิงค์บทความน่าสนใจหลายอันเลย Link>>
ให้เอา kinect ไปใช้แล้วเป็นอย่างไรเขียนมาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ
15 ธันวาคม 2553
แนะนำเว็บ โปรเจ็คออยเลอร์
เป็นเว็บที่รวบรวมโจทย์ปัญหาทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
ที่ต้องใช้การคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์มาช่วยในการแก้ปัญหา
ผู้เข้าร่วมสามารถใช้ภาษาใดๆก็ได้มาใช้แก้ปัญหา ถ้าเราเข้าไปเลือกทำโจทย์
วิธีการเช็คว่าเราทำได้ก็คือ เค้าจะให้เราส่งคำตอบที่เป็นตัวเลข 1 ตัว
แต่มักเป็นเลขยาวพอสมควรเลย ถ้าเราตอบถูกเค้าก็จะให้เราดูโค๊ดของคนอื่นได้ด้วย
ซึ่งตรงนี้ช่วยให้เราได้เห็นภาษาแปลกๆมากมาย และบางครั้งอาจได้เห็นอัลกอริทึมเทพ
มีการจัดอันดับของแต่ละประเทศด้วย คนไทยก็เข้าไปเล่นกันเยอะครับ
สามารถเข้าไปสมัครสมาชิกเพื่อร่วมแก้ปัญหาได้เลยครับ
ปล. แล้วถ้าโจทย์ข้อไหนใช้เวลารันนานมากๆ แสดงว่าเราคิดอัลกอริทึมที่ไม่ดีแล้วนะครับ
เพราะปัญหาส่วนใหญ่หากใช้อัลกอริทึมที่เหมาะสมแล้วจะใช้เวลาแก้ไม่เกิน 1 นาทีครับ
13 ธันวาคม 2553
IEEE 12th INTERNATIONAL CONFERENCE ON REHABILITATION ROBOTICS, ICORR 2011
>
> IEEE 12th INTERNATIONAL CONFERENCE ON REHABILITATION ROBOTICS, ICORR 2011
>
> Zurich, Switzerland, June 29 - July 01, 2011
>
> www.icorr2011.org
>
> Paper, video and workshop proposal submission deadline: January 21, 2011
>
> **************************************************************************************************************
>
> The IEEE 12th International Conference on Rehabilitation Robotics (ICORR 2011) will be held at ETH Zurich, Switzerland, from June 29 to July 1, 2011, in the frame of the Rehab Week Zurich, www.rehabweekzurich.com, taking place from June 27 - July 1, 2011.
>
> PAPERS
> Authors should submit their papers electronically in PDF format. Four to six pages in the standard IEEE format are allowed for each paper, including figures, tables and references. A maximum of two additional pages is permitted at extra charge. Detailed instructions for paper formatting and submission are available on the conference website. Best papers will be awarded.
>
> VIDEOS / HANDS-ON DEMOS
> Videos of up to three minutes illustrating new and exciting results are sought for dedicated video sessions. Videos are an optional addition to paper submissions and should be submitted via the submission site together with the paper. The best video will be awarded. Authors are further encouraged to present their paper through a hands-on demo at the conference, and may indicate their interest during the submission process.
>
> WORKSHOPS
> Proposals for 2h or 4h workshops should include: workshop title and objectives, list of speakers with presentation titles and expected number of participants. Proposals should be submitted as a single PDF file via the submission site. Proposals will be reviewed by the scientific committee and selected with respect to their relevance, quality and available space.
>
> EXHIBITS
> As part of the Rehab Week Zurich, ICORR 2011 will offer a unique opportunity to showcase your products and technology to researchers, scientists, clinicians, therapists, and users. For further information follow the exhibition link on the website or contact the exhibition office at exhibition@rehabweekzurich.com.
>
> IMPORTANT DATES
> January 21, 2011 Paper, video and workshop/tutorial proposal submission date
> March 4, 2011 Notification of acceptance
> April 15, 2011 Early registration rate ends
> June 29-July 1, 2011 ICORR 2011
>
> ORGANIZING COMMITTEE
> -- Robert Riener, General Chair
> -- Roger Gassert, Co-Chair and Scientific Chair
> -- Just Herder, Scientific Co-Chair
> -- Silvestro Micera, Award Chair
> -- Martin Simnacher, Local Arrangement Chair
>
> FURTHER INFORMATION
> Visit www.icorr2011.org or contact the Local Arrangement Chair: Martin Simnacher
> Phone: +41-44-632 59 17, Fax: +41-44-632 18 76, E-Mail: icorr2011@rehabweekzurich.com