31 กรกฎาคม 2553

การติดตั้งกล้องและโปรเจคเตอร์บน Pan/Tilt Camera Head

การติดตั้งกล้องและโปรเจคเตอร์บน Pan/Tilt Camera Head

Biclops Camera Head รุ่นนี้ออกแบบมาให้ติดตั้งกล้องที่แกนจุดหมุนของการ Tilt
เพื่อให้ใช้แรงน้อยที่สุดในการเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก โดยให้เกิดโมเมนต์น้อยที่สุด

ฐานเชื่อมต่อของกล้องกับ Camera Head ไม่ได้ออกแบบมาติดตั้งโปรเจคเตอร์
จึงออกแบบการยึดใหม่ออกมาได้ดังภาพ

ติดตั้งกล้องทางด้านซ้ายและโปรเจคเตอร์ทางทางขวา กลับหัวแบบบนลงล่างทั้งคู่
เมื่อทดสอบการฉาย


แต่เฟรมภาพที่ได้จากกล้องไม่สามารถเห็นภาพการฉายโปรเจคเตอร์ได้ทั้งหมด ประกอบกับแสงของโปรเจคเตอร์ยังมีความเข้มไม่เพียงพอ
ทำให้เห็นภาพจากการฉายเป็นภาพลางๆ ซึ่งอาจทำให้มีผลในการทำ registration เพราะไม่สามารถทราบได้ว่า
แสงที่ฉายไปตรงกับวัตถุหรือไม่ จึงต้องพิจารณา กล้องที่มีประสิทธิภาพดีกว่านี้


ปัญหาอื่นๆ
1. สายสัญญาณติดพื้น ขณะที่ Camera Head ทำ Homing
2. จุดที่ยึดติด โปรเจคเตอร์เป็นแบบ น็อตไขเข้าไป จึงไม่เหมาะกับฐานที่หมุนได้
   เมื่อฐานหมุนหลายๆครั้งน็อตจะคลายตัวเนื่องจากโมเมนต์ไม่เท่ากัน
3. ไม่สามารถร้อยสายสัญญาณโปรเจคเตอร์และกล้อง ที่จุดกลางของ Camera Head
   ได้เนื่องจากหัวเชื่อมต่อใหญ่กว่าช่องว่างที่มีให้

งานที่ต้องทำต่อเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง
1. ตั้งกล้องและโปรเจคเตอร์ให้ใกล้กันกว่านี้
2. ออกแบบฐานการวางโปรเจคเตอร์และกล้องใหม่
3. หาซื้อสายสัญญาณที่หัวเล็กกว่านี้ และ มีความอ่อนตัวกว่านี้


28 กรกฎาคม 2553

โปรเจ็คภาเป็น 3 มิติใช้หลักการฉาย code ภาพเหมือนกัน

ใช้อากาศเป็นฉากโปรเจ็คเตอร์

ที่มา http://www.io2technology.com/specifications

การแสดงผล โปรเจ็คเตอร์ไปยัง ระนาบใดๆ

จอนห์นี ลี ได้โชว์การฉายโปรเจ็คเตอร์ไปยัง ระนาบภาพใดๆ โดยหาตำแหน่งกรอบของภาพจาก แสงที่ฉายออกไปเป็น code ในด้านแนวตั้งและแนวนอน
โดยแบ่งครึ่งภาพไปเรื่อยๆ คล้ายหลักการของเลขฐาน 2
ตัวเซ็นเซอร์ไฟเบอร์ออฟติกที่อยู่ที่มุมของกรอบสีเหลี่ยม
จะเกิด Pulse code ตามแสงที่ได้รับ ทำให้สามารถบอกได้ว่า
มุมนี้อยู่ที่ตำแหน่งใดของและใช้วิธีการ Warp

ARmirai




ที่มา http://pseudospace.blogspot.com/2008/12/figma-mirai-meets-augmented-reality.html

13 กรกฎาคม 2553

สร้างโมเดลการโปรเจคภาพโดยไม่ต้องคำนวณระยะทางระหว่างวัตถุและโปรเจค

สร้างโมเดลการโปรเจคภาพโดยไม่ต้องคำนวณระยะทางระหว่างวัตถุและโปรเจคเตอร์
แนวคิดของหลักการนี้ มาจากสมมติฐานว่า
เมื่อกล้องรับภาพจะเกิดการโปรเจคภาพแบบ Perspective ด้วยเลนส์ของกล้องให้เป็นพิกัด (X,Y)
หากเราสามารถสร้างแสงฉายกลับไปยังพิกัด (X,Y) นั้นจะเกิดภาพกลับไปที่วัตถุ
จึงสร้างออกมาเป็นแบบจำลองทางเลขาคณิตได้ดังนี้

แบบจำลองนี้กล้องและโปรเจคเตอร์อยู่ที่จุดเดียวกัน มองไปที่ตำแหน่งของวัตถุเดียวกัน
ถ้าภาพปรากฏที่ (X,Y) แล้ว เราสามารถสร้างภาพที่ตำแหน่ง (X,Y) เพื่อฉายกลับไปที่วัตถุได้
แต่โมเดลนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้เนื่องจาก กล้องและโปรเจคเตอร์ไม่สามารถอยู๋ในตำแหน่งเดียวกันได้
มุม Fovy ของกล้องและโปรเจคเตอร์ไม่เท่ากัน กล้องและโปรเจคเตอร์มี Distroion

จริงนำมาสู่โมเดลที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และค่า Error ที่เกิดขึ้น
ว่าสามารถยอมรับได้หรือไม่ในโมเดลกล้องและโปรเจคเตอร์มีการเลื่อนใน 1 แกนที่ไม่ใช่แกน Z เท่านั้น

เมื่อวัตถุทั้งชิ้นอยู่ในลักษณะขนานกับแกน Z หรือบิดเบือนไม่มาก จะเกิด Error ไม่เกิน 1%
แต่หากมีความแปรปรวนในแกน Z มากจะมี Error สูงขึ้น

จากภาพจะเกิด Error สูงถึง 7% ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการวางวัตถุในลักษณะดังกล่าวเอง
เป็นลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับฉายด้วยโปรเจคเตอร์อยู่แล้ว
เพราะจุดบนโปรเจคเตอร์ที่สามารถฉายไปบนวัตถุมีจำนวนน้อย



HCI Trip @นครปฐม

HCI Trip @นครปฐม

เวลา รายการ ระยะ ทางรายละเอียด
6.00 ออกจากฟีโบ้ 46.1 กม. 59 นาที
7.00-13.00 พิพิธภัณฆ์หุ่นขึ้ผึ้ง ไทย
*
http://www.moohin.com/trips/nakhonpathom/model/
ล่องเรือเที่ยวนครปฐม
คลองมหาสวัสดิ์  เลือกซื้อขนม อาหารอร่อยๆ จิบกาแฟโบราณจากร้านกาแฟเก่าแก่
แผนที่ล่องเรือเที่ยว
http://www.moohin.com/018/botemap.shtml
14.00 ลานแสดงช้างและฟาร์ม จระเข้สามพราน17.5 กม ใช้เวลา 23 นาที *
http://www.elephantshow.com/home.htm
19.00 วัดพระปฐมเจดีย์ 25.1 กม. ใช้เวลา 24 นาทีรับประทานอาหารค่ำ ที่ตลาดโต้รุ่ง
ไอติมลอยฟ้า
http://www.moohin.com/trips/nakhonpathom/flyingicecream/
ของกินอร่อย
http://talk.edtguide.com /ตลาดโต้รุ่ง-พระปฐมเจดีย.html