1.ภาพรวมของระบบ (System Overview)
รูปที่ 1 แสดงภาพรวมของ Rotary Inverted Pendulum
ภาพรวมของ Rotary Inverted Pendulum จะเป็นดังภาพที 1 ซึ่งจะประกอบไปด้วยโครงสร้างที่มีฐานที่กว้างยาวมากกว่าแผ่นด้านบนพร้อมกับมีขารองรับอีก 4 จุดเพื่อกระจายการรับแรงไปที่มุมเพิ่มความมั่นคงคณะเกิดการหมุนที่รุนแรง ส่วนต่อมาก็จะเป็นในส่วนของเสาเพื่อประคองแผ่นบน ที่มีหน้าที่ยึดมอเตอร์ ส่วนต่อมาของแขนหมุน (Rotary Arm) ถูกออกแบบให้ส่วนของด้านท้ายมีความยามกว่าด้านที่ยึดกับ เสาเพนดูลัม (Pendulum Rod) ก็เพื่อช่วยถ่วงน้ำหนักของ เสาเพนดูลัม (Pendulum Rod) เพราะหากไม่มีตรงจุดนี้ก็จะเกิดโมเมนดัดที่ปลายของแกนมอเตอร์ ซึ่งอาจทำให้มอเตอร์อายุการใช้งานสั้นลง ส่วนต่อมาก็จะเป็นในส่วนของ เสาเพนดูลัม (Pendulum Rod) ก็จะมีจุดสำคัญอยู่สองจุดคือตัว เสาเพนดูลัม (Pendulum Rod) เอง และจุดยึด ในส่วนของจุดยึดเองเราได้ออกแบบโดยฝังลูกปืน(Bearing)เข้าไปก่อนเพื่อต้องการค่าความเสียดทาน (Friction) ที่เกิดขึ้นน้อยที่สุด เพื่อง่ายต่อการหมุนขึ้นของ เสาเพนดูลัม (Pendulum Rod) ส่วนสุดท้ายก็คือส่วน ของ เสาเพนดูลัม (Pendulum Rod) การออกแบบต้องคำนึงถึงคือน้ำหนักของตัว เสาเพนดูลัม (Pendulum Rod) และความยาว ซึ่งหากน้ำหนักและความยาวมากเกินไปก็จะส่งผลกับขนาดของมอเตอร์ที่ต้องการตอบสนองที่รวดเร็ว เพื่อให้สามารถเลี้ยง เสาเพนดูลัม (Pendulum Rod) ให้อยู่ในแนวตั้งได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น